ซื้อกองทุนSSF/RMF

แน่ะๆๆๆๆๆ กำลังมองหาสินค้าประกันเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีของปี 2565 เพื่อเตรียมให้พร้อมก่อนนำไปยื่นในปี 2566 กันอยู่สินะ
ผู้มีรายได้ทุกคนควรจะประเมินรายได้ และคำนวณอัตราการเสียภาษี เพื่อเลือกซื้อประกันให้ตรงและเหมาะสมกับตัวเองกันน้า

หลายคนอาจยังสงสัยอยู่ว่าประกันแบบไหน ถึงจะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี รวมถึงลดหย่อนได้เท่าไร เงื่อนไขต่างๆ มีอะไรบ้าง
เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลย

ประเภทของประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ มีดังนี้

  • ประกันชีวิต
  • ประกันสุขภาพ
  • ประกันสุขภาพของบิดา มารดา
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ

เพื่อนๆ สามารถหาสินค้าประกันลดหย่อนภาษีบนทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้แล้ววันนี้!!

ประกันชีวิต ชีวิตสบาย จ่ายเบี้ยแค่ครั้งเดียว รับผลประโยชน์สูงสุด 112% MTL 11/1 จากเมืองไทยประกันชีวิต
จ่ายเบี้ยน้อยปี แต่คุ้มครองยาวนาน พร้อมรับเงินคืน 350% Easy E-SAVE 10/5 จากเอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ คุ้มครองแบบเหมาจ่าย คุ้มครองหลักล้าน ไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน ครอบคลุมทั้ง IPD/OPD Gen Health Lump Sum Plus จากเจนเนอราลี่
ซื้อประกันสุขภาพออนไลน์ ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง เลือกได้ทั้ง IPD และ OPD ประกันสุขภาพออนไลน์ จากกรุงเทพประกันภัย
เจอ จ่าย จบ! เมื่อพบโรคร้าย รับเงินก้อนสูงสุด 500,000 บาท ประกันภัยโรคร้ายแรง จากไทยศรีประกันภัย
ประกันสุขภาพของ
บิดา มารดา
ประกันแบบเอ็กซ์ตร้า คุ้มครองนานสูงสุดถึงอายุ 85 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ วงเงินคุ้มครองสูงสุด 1,000,000 บาท Gen Senior Extra 7 จากเจนเนอราลี่

ประกันชีวิต ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท

ประกันชีวิต ประกันที่ให้ความคุ้มครองหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามทุนประกันที่ทำไว้แก่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ เช่น สามีภรรยา บุคคลในครอบครัว เป็นต้น ซึ่งประกันชีวิตที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ, ประกันชีวิตแบบ Unit-Linked, ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) เป็นต้น

เกณฑ์ลดหย่อนภาษี

  • ลดหย่อนภาษีได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และหากรวมกับเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีทำประกันชีวิตให้คู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ซึ่งต้องเป็นคู่ที่แต่งงานกันมาตลอดทั้งปี ไม่ได้เพิ่งแต่งปีนี้ สามารถลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
  • กรมธรรม์ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • ถ้ามีการจ่ายเงินคืนเงินปันผลหรือผลตอบแทนระหว่างสัญญา จะต้องได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันภัยรายปี ทั้งนี้ ถ้าได้รับเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น จ่ายคืนทุก 3 ปี หรือ 5 ปี ยอดเงินคืนจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันภัยสะสมของแต่ละช่วงเวลา
  • ประกันชีวิต แบบ Unit-Linked สามารถลดหย่อนภาษีได้เฉพาะในส่วนของการประกันชีวิต ส่วนของการลงทุนไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
  • ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย

แบบประกันชีวิตที่หาซื้อได้บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้แก่ MTL 11/1 จากเมืองไทยประกันชีวิต และ Easy E-SAVE 10/5 จากเอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต

ประกันสุขภาพ ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท

ประกันสุขภาพ เรียกได้ว่าเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่คอยดูแลค่ารักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าห้อง ค่ายา ค่าหมอ และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่าง ๆ ระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยที่ไม่ต้องควักเงินเก็บเพื่อนำมาจ่ายเอง นอกจากนี้รู้หรือไม่ว่าเบี้ยประกันสุขภาพนั้นสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ซึ่งแบบประกันที่สามารถนำไปใช้สิทธิได้มีดังนี้

  • แบบประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อันเกิดจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
  • แบบประกันภัยอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
  • แบบประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
  • แบบประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)

เกณฑ์ลดหย่อนภาษี

  • ลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี
  • ประกันโควิดก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้เช่นกัน
  • ประกันสุขภาพประเภท UDR (Unit Deducting Rider) ซึ่งเป็นประกันสุขภาพที่ซื้อพ่วงกับประกันชีวิตแบบ Unit-Linked ก็จะนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน แต่เฉพาะส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมเพื่อความคุ้มครองสุขภาพเท่านั้น
  • เมื่อรวมเบี้ยประกันสุขภาพเข้ากับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย

แบบประกันสุขภาพที่หาซื้อได้บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้แก่ ประกันสุขภาพ Gen Health Lump Sum Plus จากเจนเนอราลี่ , ประกันสุขภาพออนไลน์ จากกรุงเทพประกันภัย และ ประกันโรคร้ายแรง จากไทยศรีประกันภัย

ประกันสุขภาพของบิดา มารดาลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท

ประกันสุขภาพของบิดา มารดา ประกันที่ตอบโจทย์ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับพ่อแม่ของเรา หมดความกังวลกับค่ารักษา หากในยามที่ท่านเจ็บป่วย หรือไม่สบาย ยังมีประกันสุขภาพที่ช่วยคุ้มครองครอบคลุมการรักษา ไม่ส่งผลกระทบต่อเงินเก็บ และที่สำคัญเป็นอีกหนึ่งในประกันที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

เกณฑ์ลดหย่อนภาษี

  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา เราสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
  • บิดามารดามีรายได้ทั้งปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
  • ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้)
  • ในกรณีที่ลูกๆ ช่วยกันจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย การขอใช้สิทธิลดหย่อนจะถูกหารตามจำนวนพี่น้องที่ร่วมกันจ่าย เช่น หากมีพี่น้อง 3 คน ร่วมกันทำประกันสุขภาพให้บิดามารดา ลูกแต่ละคนจะขอใช้สิทธิลดหย่อนได้ไม่เกิน 5,000 บาท จากจำนวนเต็ม 15,000 บาท
  • ตัวเราเองหรือบิดา/มารดาท่านใดท่านหนึ่งจะต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น
  • ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้ตลอดปีภาษีนั้น เราสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดาคู่สมรส มาใช้ลดหย่อนได้เช่นเดียวกัน

แบบประกันสุขภาพบิดามารดา ที่หาซื้อได้บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้แก่ ประกันสุขภาพ Gen Senior Extra 7 จากเจนเนอราลี่

ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท

ประกันชีวิตแบบบำนาญ หนึ่งในประกันเพื่อการออมที่เน้นผลตอบแทนมากกว่าความคุ้มครอง ซึ่งหากใครอยากวางแผนถึงเงินเก็บในอนาคตของชีวิตหลังวัยเกษียณ ประกันชีวิตแบบบำนาญถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม และไม่ได้จ่ายคืนในระหว่างทางที่ทำเหมือนประกันออมทรัพย์ แต่จะเป็นการจ่ายคืนให้ในรูปแบบของ “เงินบำนาญ” ทุก ๆ ปี หรือทุก ๆ เดือน ตั้งแต่เริ่มเกษียณ (อายุ 55 ปีเป็นต้นไป) จนถึงอายุที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ที่สำคัญเราสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย รายละเอียดมีดังนี้

เกณฑ์ลดหย่อนภาษี

  • ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับประกันชีวิตแบบทั่วไป เราสามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักลดหย่อนแทนเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 บาท ก่อนได้ จากนั้นจึงนำเบี้ยประกันชีวิตส่วนที่เหลืออีก 200,000 บาท ไปหักลดหย่อนในเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
  • เมื่อรวมกับ RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และ SSF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • กรมธรรม์ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • ต้องจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ กำหนดช่วงอายุการจ่ายเงินผลประโยชน์ตั้งแต่ 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น และเราต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบก่อนได้รับผลประโยชน์
  • ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย

ที่มา: Finnomena