เรื่องราวน่ารู้

ร่วมบริจาคเพื่อสร้างพลังใจกับ 14 มูลนิธิ

พลังของผู้ให้ ร่วมบริจาคเพื่อสร้างพลังใจกับ 14 มูลนิธิช่วยเหลือทีมแพทย์ในวิกฤตโควิด-19

การเป็นผู้ให้สามารถสร้างพลังใจให้กับตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือการบริจาค และผู้รับที่รับอย่างเข้าใจก็จะได้รับพลังใจที่ดีต่อจากผู้ให้เช่นกัน อาจจะเรียกได้ว่าถ้าหากเราเข้าใจการให้และรับอย่างแท้จริง นอกจากความสุขและรอยยิ้มแล้ว ยังมีอีกหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้ให้และผู้รับนั้นมีพลังใจมากมาย วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับการเป็นผู้ให้ที่ไม่ใช่แค่การบริจาค หากแต่มีความหมายมากกว่านั้น

Give and Take  การให้ที่เกิดประโยชน์คือการให้เพื่อได้รับ

จากหนังสือ “Give and Take: Why Helping Others Drives Our Success”  ชื่อภาษาไทยคือ “แค่รู้วิธีให้ คนรับได้เท่าไหร่ คนให้ได้มากกว่า” แบ่งประเภทของมนุษย์ออกเป็น 3 ประเภท คือ 

1. ผู้รับ (Takers) หรือกลุ่มคนที่ชอบรับมากกว่าให้ เน้นที่ประโยชน์หรืออำนาจส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนร่วม แต่ทั้งนี้ การเป็นผู้รับไม่ใช่สิ่งที่ผิด หากแต่ควรรับอย่างเข้าใจ และรับเพื่อส่งต่อ เพราะเมื่อมีผู้ให้ในชุมชนหรือสังคมนั้นอย่างสม่ำเสมอ ก็มีแนวโน้มที่จะส่งต่อการให้ได้มากขึ้น 

2 .ผู้แลกเปลี่ยน (Matchers) คือกลุ่มคนที่แลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียม ใครทำดีมาก็ตอบแทน หากใครทำไม่ดีมาก็จะตอบโต้ ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่ในโลกนั้นเป็นผู้แลกเปลี่ยน

3. ผู้ให้ (Givers) คือกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวมและให้ความช่วยเหลือโดยไม่คาดหวังผลประโยชน์แอบแฝง นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นคือผู้ให้สามารถสร้างไฟและกำลังใจในการทำงานด้วยการให้หรือการบริจาค โดยผลลัพธ์ที่ผู้ให้มองเห็นคือการสร้างวงจรการให้ที่ไม่สิ้นสุด 

โดยมนุษย์เราสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบปฏิสัมพันธ์ได้เมื่อพวกเขาต้องอยู่ในบริบทที่ต่างกันออกไป เช่นเมื่ออยู่กับคนในครอบครัวหรือคนสนิท คนส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ให้ แต่เมื่ออยู่ในที่ทำงานหรือสถานที่อื่นๆ คนส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้แลกเปลี่ยน

การให้คือการได้รับ

เอาละ เราลองมาดูตัวอย่างข้อดีและแนวทางการใช้ชีวิตของผู้ให้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกันได้ ไม่มากก็น้อย มีงานวิจัยกล่าวว่า หากเราบริจาคสิ่งของให้ผู้ยากไร้หรือทำการกุศลสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ติดต่อกันทั้งปี ผลลัพธ์คือเราจะมีความสุขและภูมิใจในตนเองมากขึ้น 

  • จอย เจ้าหน้าที่ในมูลนิธิเพื่อการศึกษา ซึ่งรับบริจาคหนังสือ จอยรู้สึก Burnout หรือหมดไฟในสิ่งที่ทำอยู้ แต่สิ่งที่ทำให้จอยกลับมามีพลังอีกครั้งคือ “การให้เพิ่ม” ด้วยการเปิดสอนหนังสือออนไลน์และเปิดรับบริจาคช่วยเหลือเด็กๆ 
  • กิต หัวหน้าทีมการตลาด ทำงานโดยนึกถึงคำว่าเรามากกว่าฉันและแสดงความมั่นใจให้ทีม พร้อมให้โอกาสทุกคนได้แสดงความคิดเห็นโดยไม่ตัดสิน ทำให้สมาชิกในทีมกล้าแสดงความคิดเห็นและส่งผลให้ผลงานที่ออกมาเป็นผลประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด
  • มุก มีคุณแม่เป็นพยาบาล จึงมักจะไปบริจาคเลือดที่โรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ เพื่อนในกลุ่ม จึงมีความสนใจและอาสาขอตามไปขอบริจาคเลือดบ้าง โดยที่มุกไม่ได้บังคับ มุกได้ให้โอกาสเพื่อนของเธอได้มีโอกาสเป็นผู้ให้ก่อนจะเป็นผู้รับ

ผู้ให้หลายคนมักปกปิดความเป็นผู้ให้ของตัวเองเอาไว้ เพราะกลัวที่จะถูกมองว่าอ่อนแอและง่ายต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกเขาก็ไม่สามารถปกปิดความรู้สึกที่อยากจะช่วยเหลือไว้ได้ และนั่นทำให้พวกเขาสามารถสร้างวงจรของการให้ได้อยู่เสมอ 

การให้จึงเป็นสิ่งสวยงามและมีความหมายมากกว่าแค่การบริจาคดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เพราะการให้ก่อให้เกิดพลังอันยิ่งใหญ่ส่งต่อกันไปไม่สิ้นสุด ถึงตรงนี้ใครที่อยากเริ่มต้นเป็นผู้ให้ ในสถานการณ์โควิด-19 เช่นตอนนี้ เราทุกคนสามารถเป็นผู้ให้ได้ไม่ยาก และการบริจาค ก็เป็นหนทางหนึ่งที่เราทุกคนทำได้ เพื่อสร้างพลังใจ ให้กับผู้ที่กำลังเผชิญวิกฤต ง่ายๆ ผ่านแอป ทรูมันนี่ วอลเล็ท ไม่ว่าจะเป็นการ ร่วมสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และทีมด่านหน้า ที่ทำงานหนักอย่างสุดความสามารถ ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ คอยช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยและผู้ป่วยทุกคนอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ มีหลายมูลนิธิที่เล็งเห็นถึงปัญหาและร่วมจัดหาเครื่องช่วยหายใจ เครื่องออกซิเจน ไฮ โฟลว์ อุปกรณ์ฉากกั้นสำหรับใช้ตรวจคัดกรอง ห้องเปลี่ยนชุด PPE ระบบกล้องวงจรปิดติดตามสภาพผู้ป่วย และสถานที่รองรับผู้ติดเชื้อ ผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้ 

  • มูลนิธิหลักประกันสุขภาพไทย โครงการทุก(ข์)ภัย ไทยช่วยกัน
  • ศิริราช โครงการศิริราชสู้ภัยโควิด
  • มูลนิธิรามาธิบดี โครงการป้องกันและช่วยเหลือสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
  • มูลนิธิแพทย์ชนบท จัดซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤต ให้โรงพยาบาลชนบทที่ขาดแคลน
  • มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ในห้องไอซียูเพื่อช่วยผู้ป่วยเด็กระยะวิกฤต
  • สภากาชาดไทย โครงการพลังใจอาสาช่วยหมอ
  • มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี โครงการเพื่อสู้โควิด-19ไปด้วยกัน
  • มูลนิธิพุทธรักษา โครงการส่งต่อความสุข

และนอกจากนี้แล้วยังมีอีกหลายหน่วยงานที่เปิดรับบริจาคเพื่อให้การ ช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ผู้หญิง ผู้ยากไร้ เด็กในชนบท เด็กพิเศษ ผู้พิการและคนชรา ด้วยการจัดศูนย์พักคอยและโรงพยาบาลสนาม นและจัดหาและซื้อเครื่องผลิตออกซิเจนเพิ่ม เพื่อมอบให้แก่ผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวที่บ้าน ผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้ 

  • มูลนิธิออทิสติกไทย โรงพยาบาลสนามเพื่อเด็กพิเศษและครอบครัว 
  • มูลนิธิกระจกเงา โครงการอาสามาเยี่ยม (ช่วยโควิด) 
  • มูลนิธิยุวพัฒน์ โครงการFood4Good ช่วยโควิด 
  • unicef ร่วมช่วยเหลือเด็กๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 
  • มูลนิธิดวงประทีป โครงการร่วมใจ สู้ภัยโควิด
  • วัดสะพาน (คลองเตย)  ศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด-19 

เครดิต: หนังสือ “Give and Take: Why Helping Others Drives Our Success”  โดย อดัม แกรนต์ 

รับเพื่อส่งต่อ - TrueMoneyWallet

เพียง 1 บาทก็บริจาคได้ ง่ายๆ ผ่านแอป ทรูมันนี่ วอลเล็ท

มาร่วมต่อยอดสังคมแห่งการให้ เติมพลังกายพลังใจให้ตัวเองและคนรอบข้าง

รวมทั้งผู้ป่วยโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์และทีมด้านหน้า เพื่อให้ทุกคนก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน